วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระสุขศึกษาและพละศึกษา


การปฐมพยาบาลเบื้องต้น



การรักษาความสะอาดร่างกาย และปฐมพยาบาลเบื้องต้น
๑)  การรักษาความสะอาดฟัน    ฟัน  เป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร  บางครั้งอาจมีเศษอาหารติดตามซอกฟัน  การแปรงฟันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด  ที่จะช่วยขจัดเศษอาหารที่ตกค้างอยู่ในปาก  ทำให้ฟันสะอาดแข็งแรง



    ข้อควรปฏิบัติ
๑.  แปรงฟันวันละ  ๒  ครั้ง
๒.  บ้วนปากหลังรัประทานอาหาร
๓.  ไปพบทันตแพทย์ทุก  ๖  เดือน

๒)  การรักษาความสะอาดมือ
  มือ  เป็นอวัยวะที่ใช้งานอยู่ตลอดเวลา  โอกาสที่มือจะสกปรกจึงมีมากกว่าอวัยวะอื่น  เราจึงควรรักษาความสะอาดมือ  เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปในปากและร่างกายของเรา
    ข้อควรปฏิบัติ๑.  ตัดเล็บมือให้สั้นอยู่เสมอ
๒.  ล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร  และหลังจากเข้าห้องน้ำ
๓.  ไม่อม  ดูด  หรือเลียมือ  และไม่ใช้มือที่สกปรกหยิบอาหารเข้าปาก

๓)  การรักษาความสะอาดเท้า
    เท้า  เป็นอวัยวะที่ช่วยให้เรายืน  เดิน  วิ่ง  และทำกิจกรรมต่างๆ  การดูแลรักษาเท้าให้สะอาดและมีสุขภาพดี  จึงเป็นสิ่งสำคัญ  เพราะจะทำให้เราปลอดภัยจากเชื้อโรคต่างๆ
    ข้อควรปฏิบัติ    ขณะอาบน้ำ  เราต้องไม่ลืมใช้สบู่ฟอกเท้าและตามง่ามเท้าด้วยทุกครั้ง  ไม่เดินลุยน้ำ  หรือเข้าไปบริเวณที่มีของแหลมคม  เพราะอาจเกิดอันตรายได้

๔)  การรักษาความสะอาดเล็บ    เล็บ  เป็นส่วนหนึ่งของนิ้วมือ  และนิ้วเท้าช่วยป้องกันปลายนิ้วให้ปลอดภัย
    ข้อควรปฏิบัติ
    เราควรดูแลรักษาเล็บให้สะอาด  ไม่กัดแทะเล็บ  ตัดเล็บมือเล็บเท้าให้สั้นและไม่ตัดเล็บจนลึกถึงเนื้อ  เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อโรคได้
    การหายใจที่ถูกวิธี    การหายใจ  เป็นการสูดอากาศบริสุทธิ์เข้าร่างกาย  ทำให้เรารู้สึกสดชื่นกระปรี่กระเปร่า  การหายใจที่ถูกวิธีต้องหายใจทางจมูก  เพราะจมูกมีระบบในการกรองฝุ่นละอองและเชื้อโรคไม่ให้เข้าสู่ร่างกายของเรา
    ข้อควรปฏิบัติ
๑.  อยู่ในสถานที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์  และหายใจทางจมูก
๒.  หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีฝุ่นละออง  และควรใช้ผ้าปิดจมูกและปาก
    การปฐมพยาบาลบาดแผลขนาดเล็ก
การปฐมพยาบาล  คือ  การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล
๑)  การปฐมพยาบาลบาดแผลถลอก
    ๑.  เอาเศษดินที่ติดอยู่ในแผลออก  แล้วล้างแผลด้วยน้ำสุก  และน้ำสบู่
    ๒.  เช็ดรอบๆ  แผลด้วยแอลกอฮอล์  แล้วทาแผลด้วยทิงเจอร์ใส่แผลสด
๒)  การปฐมพยาบาลบาดแผลถูกของมีคมบาด
    ๑.  ใช้สำลีเช็ดเลือด  และกดห้ามเลือด
    ๒.  ใช้แอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดรอบๆ แผล
    ๓.  ใช้สำลีชุบทิงเจอร์ใส่แผลสดทารอบๆ แผล
    ๔.  ใช้ผ้าพันแผล  หรือพลาสเตอร์ปิดแผล
๓)  การปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงกัดต่อย
    ๑.  ใช้ลูกกุญแจที่มีรูกดตรงจุดที่ถูกต่อย  แล้วใช้ที่หนีบคีบเอาเหล็กในออก
   ๒.  กดหรือบีบบาดแผลไล่น้ำพิษออก
    ๓.  ใช้สำลีชุมแอมโมเนียทาบริเวณแผล
    ๔.  สังเกตดูอาการ  ถ้าไม่ดีขึ้นรีบพาไปพบแพทย์
  
    การขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ    อุบัติเหตุ  คือ  เหตุการณ์หรืออันตรายที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน  การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสามารถช่วยผู้บาดเจ็บได้ในระดับหนึ่ง  แต่ถ้าบาดแผลมีขนาดใหญ่มากต้องรีบขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่  ดังนี้
    ๑.  ไปขอความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ที่สุด
    ๒.  ตั้งสติให้ดี  แล้วบอกผู้ใหญ่ว่า  เกิดอะไรขึ้น  ที่ไหน  อย่างไร  ผู้บาดเจ็บมีอาการอย่างไร
    ๓.  ถ้าไม่สามารถขอความช่วยเหลือด้วยตนเองได้  ต้องให้เพื่อนหรือผู้ที่พบเห็นรีบไปแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบ
    การนอนหลับ
    การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด  เราควรนอนหลับอย่างน้อยวันละ ๘-๑๐ ชั่วโมง เพราะขณะที่เรานอนหลับร่างกายจะซ่อมแซมส่วนต่างๆที่สึกหลอซึ่งจะช่วยให้เรามีสุขภาพร่างกายแข้งแรง  และจิตใจแจ่มใสเบิกบาน
    วิธีปฏิบัติตนเพื่อให้นอนหลับสบาย  มีดังนี้
๑.  นอนในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก  ไม่มีกลิ่นและเสียงรบกวน
๒.  นอนกางมุ้ง  หรือมองในห้องที่มีมุ้งลวด  เพื่อป้องกันยุงกัด
๓.  นอนในท่าที่สบาย  คือ  นอนหงาย  หรือนอนตะแคง  ไม่ควรนอนคว่ำ
๔.  ก่อนเข้านอนควรดื่มนมอุ่นๆ  หรือน้ำสะอาด ๑ แก้ว
๕.  อาบน้ำ  แปรงฟัน  และสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายก่อนเข้านอน
๖.  หมั่นดูแลทำความสะอาดเครื่องนอนอยู่เสมอ  โดยปฏิบัติดังนี้
-  ผ้าปูที่นอน  ปลอกหมอน  ซักสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
-  ผ้าคลุมเตียง  ผ้าห่ม  มุ้ง  ซักอย่างน้อยเดือนละครั้ง
-  หมอน  ที่นอน  ผึ่งแดดอย่างน้อยเดือนละ  ๒  ครั้ง
    การปฐมพยาบาลเมื่อมีเลือดกำเดาออก
    เลือดกำเดาออก  อาจเกิดจากการถูกชกต่อย  หกล้ม  ใช้นิ้วแคะจมูก  แล้วทำให้เส้นเลือดฝอยของเยื่อบุจมูกฉีกขาด
    ถ้าลูกเสือมีเลือดกำเดาไหล  หรือพบกับผู้ที่เลือดกำเดาไหล  ควรรีบให้การปฐมพยาบาลอย่างถูกวิธีแล้วรีบแจ้งให้ผู้ใหญ่ทราบทันที
    วิธีการปฐมพยาบาล
๑.  นั่งนิ่งๆ  ก้มหน้าลงเล็กน้อย  บีบจมูกนาน  ๑๐ นาที
๒.  ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น  หรือน้ำแข็งวางบนหน้าผาก  สันจมูก  หรือใต้ขากรรไกร
๓.  ถ้าเลือดกำเดายังไม่หยุดไหล  ให้รีบไปพบแพทย์
    การขอความช่วยเหลือ  เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
    อุบัติเหตุ  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดหมาย  เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น  เราควรเข้าไปช่วยเหลือ  หรือรีบขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่หรือผู้ใหญ่เป็นอันดับแรก  โดยปฏิบัติ  ดังนี้
๑.  ระงับอารมณ์ตื่นเต้นตกใจให้ดีก่อน
๒.  เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยคำที่สุภาพ  ชัดเจน
๓.  บอกสถานที่ที่เกิดเหตุ  และอาการของผู้ป่วย
๔.  บอกสิ่งที่ต้องการขอความช่วยเหลือ
    ตัวอย่างคำพูดขอความช่วยเหลือ
ครูค่ะ  วีระตกต้นไม้ขาหักที่หลังโรงเรียนค่ะ  หนูว่าอาจารย์ต้องใช้เปลหามเขาไปส่งที่โรงพยาบาล  ครูรีบไปดูเขาก่อนเถอะค่ะ
ครูคับ  วิชัยเหยียบตะปูที่หลังแปลงเกษตรครับ  ผมว่าแผลคงลึกมากเพราะเลือดไหลไม่หยุดเลย  ต้องรีบห้ามเลือดก่อน  ครูคงต้องเอาอุปกรณ์ปฐมพยาบาลไปด้วย  รีบไปดูเขาเถอะครับ
    การปฐมพยาบาล  เมื่อถูกแมลงกัดต่อย
    แมลงที่อาจทำอันตรายเรานั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด  ได้แก่
-  แมงป่อง  -  ตะขาบ  -  ต่อ  -  ผึ้ง
    ผู้ที่ถูกแมลงเหล่านี้กัดหรือต่อยจะมีอาการเจ็บปวด  บวม  และคันบริเวณที่ถูกกัดหรือต่อย  บางคนถ้าพิษมากอาจมีไข้สูง  อาเจียน  และหมดสติไป
    เมื่อพบเห็นคนถูกแมลงเหล่านี้กัดหรือต่อยเราต้องมีสติ  ไม่ตื่นเต้นตกใจเกินไป  แล้วรีบเข้าไปช่วยปฐมพยาบาลทันที
    วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกผึ้ง  หรือต่อต่อย
๑.  ใช้กุญแจที่มีรู  กดลงไปบริเวณที่ถูกต่อย  เหล็กในจะโผล่ขึ้นมา  แล้วคีบออก
๒.  ใช้สำลีชุบแอมโมเนียบริเวณแผล  ถ้ามีเลือดออกให้ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนเช็ดแผล
๓.  ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณบาดแผล  หรืออาจใช้ยาแก้ปวดระงับอาการปวด
๔.  ถ้าอาการรุนแรง  ควรรีบส่งแพทย์ทันที
    วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกแมงป่องต่อย  หรือตะขาบกัด๑.  ใช้สายยาง  หรือเชือกรัดเหนือบริเวณบาดแผล  เพื่อป้องกันไม่ให้พิษวิ่งเข้าสู่หัวใจ
๒.  บีบบริเวณรอบบาดแผล  เพื่อไล่น้ำพิษออกมา  แล้วใช้สำลีชุบแอมโมเนียทาบริเวณบาดแผล
๓.  ใช้น้ำแข็งประคบบริเวณบาดแผล  หรืออาจใช้ยาแก้ปวดระงับอาการปวด
๔.  ถ้าอาการรุนแรง  ควรรีบส่งแพทย์ทันที
    การปฐมพยาบาล  เมื่อถูกไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวก
    ไฟไหม้  หรือน้ำร้อนลวก  เป็นอุบัติเหตุที่มักเกิดขึ้นบ่อย  เราจึงควรระมัดระวัง  เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุนี้ขึ้น
    ผู้ที่ถูกไฟไหม้  หรือน้ำร้อนลวกจะมีอาการ  ดังนี้
๑.  มีบาดแผลเป็นรอยไหม้เกรียม  หรือมีหนังและเนื้อพอง
๒.  มีอาการปวดแสบปวดร้อนบริเวณบาดแผล
๓.  ผู้ที่มีบาดแผลเป็นบริเวณกว้าง  และบาดแผลเกิดอาการอักเสบ  อาจมีอาการช็อก  ทำให้หมดสติ

    วิธีปฐมพยาบาลเมื่อถูกไฟไหม้  หรือน้ำร้อนลวก๑.  ใช้น้ำยาล้างแผล  เช่น  ด่างทับทิมล้างแผลให้สะอาด
๒.  ทายาแก้ไฟไหม้หรือน้ำร้อนลวกให้ทั่วบาดแผล
๓.  ปิดบาดแผลด้วยผ้ากอซเพื่อป้องกันฝุ่นละออง
๔.  ติดพลาสเตอร์ทับให้เรียบร้อย
    อย่าใช้ยาสีฟันทาแผล  เพราะอาจอักเสบมากขึ้นและแผลจะหายช้าฆ
    การจัดทำถุงใส่อุปกรณ์ปัจจุบันพยาบาล
อุปกรณ์ ๑.  เข็ม  ด้าย  ๒.  ผ้า  ๒  ผืน  ๓.  กรรไกร  ๔.  เชือก
วิธีทำ
๑.  ตัดผ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ๒  ผืน  ขนาด  ๓๐x๒๐  ซม.  นำมาวางประกบกัน  แล้วเย็บริมให้ติดกัน  ๓  ด้าน  เว้นขอบด้านบนมุมซ้ายไว้  ๔  ซม.
๒.  พับผ้าด้านบนลงมา  ๑  ซม.
๓.  พับทบลงมาอีก  ๓  ซม.
๔.  เย็บตามรอยประ
๕.  พลิกกลับถุงผ้าเอาด้านในออกมา
๖.  สอดเชือกแล้วผูกให้แน่น



ประวัติของกิจกรรมเข้าจังหวะ



            กิจกรรมเข้าจังหวะ หมายถึง กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ร่างกายและจิตใจมีปฏิกริยาตอบสนองต่อดนตรีและจังหวะ ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายในรูปแบบใดก็ตาม ถ้ากระทำให้เข้ากับจังหวะ ก็จะเป็นกิจกรรมเข้าจังหวะทั้งสิ้น
การดนตรีและเพลง
การดนตรีถือเป็นศิลปะชิ้นแรกของมนุษย์ ทั้งนี้เพราะดนตรีเป็นเรื่องของจังหวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ โดยอาจเริ่มต้นโดยการตบมือ กระทืบเท้า เคาะไม้ จนกระทั่งผลิตเครื่องดนตรีขึ้นมา
การดนตรีและเพลงเริ่มขึ้นในยุคกลาง(ค.ศ. 500-1500) ในยุคฟื้นฟู(ศตวรรษที่ 18) ในยุคคลาสสิค(กลางศตวรรษที่ 18 - ต้นศตวรรษที่ 19) และในยุคโรแมนติค
การละคร
เป็นการแสดงภาพสะท้อนชีวิตความเป็นอยู่หรือเป็นการแสดงสัญชาตญาณของการเลียนแบบ จุดเริ่มต้นของการละครเริ่มในกลุ่มชนแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์ ส่วนการละครของไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย และได้พัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการแสดงโชนซึ่งต้องใช้ดนตรีและการเต้นรำประกอบท่าทางด้วย
การเต้นรำ
เป็นการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกายให้เข้ากับจังหวะดนตรี การเต้นรำเริ่มขึ้นในยุคโบราณ เกิดขึ้นตามความเชื่อของมนุษย์ที่เคารพนับถือเทพเจ้า ยุคอียิปต์โบราณ ยุคกรีกโบราณ ยุคโรมัน ในยุคกลาง ยุคฟื้นฟู (ตั้งแต่ศตวรรษที่ 14-16)
การเต้นรำพื้นเมือง
มีมานานแล้วโดยชาวกรีกโบราณรู้จักการเต้นรำแบบลูกโซ่ โดยจับมือกันเป็นวงกลม การเต้นรำพื้นเมืองมีอยู่ในหลายประเทศ คือ
1.อเมริกา 2.อังกฤษ 3.อิตาลี 4.กรีซ 5.สเปน 6.สวิตเซอร์แลนด์ 7.สแกนดิเนเวีย 8.รัสเซีย 9.อิสราเอล 10.อินเดีย 11.จีน 12.ญี่ปุ่น
การลีลาศ
คือการเต้นรำคู่ชั้นสูงซึ่งมีแบบการเต้นโดยเฉพาะ โดยดัดแปลงมาจากการเต้นรำพื้นเมือง การเต้นรำจึงเป็นสื้อในการพบปะสังสรรค์หรือใช้รับแขกผู้มาเยือน ในสมัยฟื้นฟูวิทยาการมีการเต้นรำ 2 ประเภท คือการเต้นรำชั้นสูงกับการเต้นำชั้นต่ำ ต่อมาในศตวรรษที่ 17 การเต้นรำแบบใหม่ๆได้ถูกนำเข้ามาในสมัยพระเจ้าหลุยห์ที่ 14 จากนั้นผรั่งเศสและอังกฤษได้แลกเปลี่ยนการเต้นรำกัน อังกฤษรับบอลรูมจากฝรั่งเศสและฝรั่งเศศรับการเต้นรำแบบชนบทของอังกฤษโดยดัดแปลงให้เหมาะสมขึ้น ซึ่งคล้ายกับการเต้นสแควร์ดานซ์ของอังกฤษ
ใน ค.ศ. 1789 สมัยที่มีการปฏิวัติในฝรั่งเศส ได้เกิดการเต้นวอลซ์ขึ้นและแพร่หลายไปสู่ประเทศที่เจริญแล้วในตะวันตก
ต้นศตวรรษที่ 19 จังหวะที่รู้จักกันล่าสุด คือ American Jazz
ต่อมา จังหวะแทงโก้ เริ่มแพร่หลายที่ปารีส(ค.ศ. 1910) การเต้นรำแบบคิวบันรุมบ้า ใน ค.ศ.1930(มีชื่อเสียงมาก)
ในประเทศไทย มีการเต้นรำลีลาศตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ตามบันทึกของแหม่มแอนนา ลีโอโนเวล นักเต้นรำคนแรกของไทยคือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จังหวะที่เต้นกันในสมัยแรก คือ จังหวะวอลซ์
ความสำคัญของกิจกรรมเข้าจังหวะ
กิจกรรมเข้าจังหวะเกิดขึ้นพร้อมกับมนุษย์ มนุษย์จึงต้องเกี่ยวพันกับจังหวะอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นจังหวะในรูปแบบหรือจังหวะนอกรูปแบบ
จังหวะในรูปแบบ หมายถึง จังหวะที่มนุษย์ทำให้เกิดขึ้นมาโดยตรง เช่น ตีกลอง ตีฉิ่ง เคาะไม้ ฯลฯ และพยายามเคลื่อนไหว ส่วนต่างๆของร่างกายให้เข้ากับจังหวะ เช่น การเดินพาเหรด การฝึกกายบริหาร
จังหวะนอกรูปแบบ หมายถึง จังหวะที่เกิดขึ้นเองโดยมนุษย์ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวโดยตรง เช่น จังหวะในธรรมชาติทั่วๆไป จังหวะในการประกอบกิจวัตรประจำวัน จังหวะภายในร่างกายของมนุษย์
ประโยชน์ของกิจกรรมเข้าจังหวะ
1.สนุกสนานเพลิดเพลินใจ กล้าแสดงออกในทางที่ดีงาม
2.มีบุคลิกภาพในด้านการเคลื่อนไหวที่สง่างาม และมีสัมพันธ์มิตรกว้างขวางมากขึ้น
3.ผ่อนคลายความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจ
4.จรรโลงวัฒนธรรมในทางที่ดีงาม
5.รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์โดยการออกกำลังกายกิจกรรมเข้าจังหวะ
เรดออคเทน ผู้จัดจำหน่ายเกมกิจกรรมเข้าจังหวะที่อาศัยการแม่นปุ่มบวกกับท่วงทำนองดนตรีร็อคที่สร้างอารมณ์การเล่นเกมให้เมามันยิ่งขึ้น



ครอบครัว



     ความหมายของครอบครัว
    ครอบครัวในปัจจุบันมีความหลากหลายมากกว่าแต่ก่อน ซึ่งเดิมมีอยู่เพียง 2 ลักษณะ ที่ชัดเจน คือ
- ครอบครัวเดี่ยว ซึ่งประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก
- ครอบครัวขยาย ซึ่งนอกจากพ่อ แม่ ลูกแล้วอาจมีปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติพี่น้องอาศัยอยู่ด้วย
องค์การสหประชาชาติในการรณรงค์เกี่ยวเนื่องกับปีครอบครัวสากล พ.ศ.2537 ได้ประสบความยากลำบากกับการให้นิยามคำว่า "ครอบครัว" และในที่สุดไม่สามารถให้นิยามได้ เนื่องจากครอบครัวในแต่ละวัฒนธรรมมีความหมายกันออกไป และภายในแต่ละวัฒนธรรมก็มีความแตกต่างอีกมากมาย ทั้งนี้ เพราะสังคมสลับซับซ้อนยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการยอมรับ " การเป็นครอบครัว "ในลักษณะที่ต่างจากประเพณีดั้งเดิมและก็เป็นที่ยอมรับจากสังคมเฉพาะบางกลุ่ม บางพวก
อย่างไรก็ดีเพื่อแนะแนวความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับครอบครัว จึงอาจให้ความหมายกว้างๆไว้ว่าครอบครัว คือ " กลุ่มบุคคลที่มีความผูกพันธ์ทางอารมณ์และจิตใจในการดำเนินชีวิตร่วมกัน รวมทั้งการพึ่งพิงกันทางสังคมและเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์กันทางกฎหมายและทางสายโลหิต ครอบครัวบางครอบครัวอาจมีลักษณะข้อยกเว้นบางประการจากดังกล่าวก็ย่อมได้ "
ความเป็นมาของวันครอบครัวเนื่องจากองค์การสหประชาชาติเห็นว่าปัจจุบันโลกอยู่ในภาวะที่ผันผวนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผลพวงเกิดจากกระแสแห่งโลกาภิวัตน์และการสื่อสารที่แผ่ขยายไปอย่างรวดเร็วของโลกรวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตลอดจนเรื่องราวของภัยพิบัติและภัยสงครามที่เกิดขึ้นในโลก
จึงได้พิจารณาเห็นพ้องกันว่า "ครอบครัว" เท่านั้นที่จะเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจสำหรับสมาชิกในสังคมโลกจากหน่วยเล็กที่สุดไปสู่สังคมใหญ่ จะช่วยสลายการแบ่งแยกเชื้อชาติและทางการเมือง อันอาจทำให้เป็นปัญหาสังคมน้อยลงและส่งเสริมความมั่งคงของชาติ ครอบครัวจะเป็นที่ส่งเสริมสร้างความราบรื่น ทำให้เกิดความเจริญ ความผลสุก ความอบอุ่นและความปลอดภัย จึงเห็นสมควรให้จัดมี "วันครอบครัว" ขึ้นเพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2532 อนุมัติในหลักการตามข้อเสนอของคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายสังคมที่จะกำหนดให้มี "วันครอบครัว" ขึ้น รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี( คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ) ในขณะนั้นได้กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ( พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ) เพื่อพิจารณาอนุมัติและนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบพร้อมทั้งให้ถือเป็นมติคณะรัฐมนตรี โดยกำหนดให้วันที่ 14 เมษายนของทุกปีเป็น " วันครอบครัว "
ตราสัญลักษณ์ปีครอบครัวสากล
สัญลักษณ์เป็นรูปหัวใจสีแดงเล็กที่ผสมผสานกับรูปหัวใจใหญ่ภายใต้หลังคาบ้าน สื่อความหมายว่า สร้างความรัก สร้างความ เสมอภาคร่วมกันภายในบ้าน ย่อมนำมาซึ่งความอบอุ่นและสันติสุขในครอบครัว ออกแบบโดย Cathaline L. Laureate นักออกแบบชาวสวิตเซอร์แลนด์    
คำขวัญและตราสัญลักษณ์ 
"ความรัก ความเข้าใจ คือสายใยของครอบครัว" ผู้เขียน ได้แก่ นายขนาน ทิมเทศ 
สัญลักษณ์ดังกล่าวหมายถึงคนในครอบครัว ประกอบด้วย พ่อ แม่ ลูก และปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติผู้ใหญ่  ที่อยู่ร่วมกันด้วยความอบอุ่นภายใต้หลังคาบ้านซึ่งมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยที่มีบรรพบุรุษคอยดูแลอบรมสมาชิกรุ่นใหม่ของครอบครัวจนเติบโตและสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ ผู้ออกแบบ ได้แก่ นายชัชวาลย์ บุนทยะพันธ์  
ปัญหาทั่วไปความอ่อนแอและสภาวะวิกฤตในครอบครัว เกิดจากสาเหตุที่สำคัญ ดังนี้
1) การขาดความพร้อมของพ่อ แม่ ในด้านต่างๆ เช่น ด้านสุขภาพ มีร่างกายแข็งแรง มีอายุเหมาะสม ไม่เป็นโรคติดต่อหรือเจ็บป่วยเรื้อรัง ด้านจิตใจอารมณ์ที่จะต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะรับภาระการ เป็นพ่อแม่ ด้านสังคม เช่น มีความรู้ ความสามารถ เพียงพอที่จะประกอบอาชีพ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว
2) สภาพเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันส่งผลกระทบให้ครอบครัวไม่อาจทำบทบาทหน้าที่ของตนได้อย่างสมบูรณ์และไม่อาจปรับตนเองได้ ครอบครัวที่อ่อนแอก็จะยิ่งได้รับผลกระทบรุนแรง โดยขาดสวัสดิการครอบครัวที่เหมาะสมรองรับ
3) สังคมไม่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัวว่าเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมจึงขาดจิตสำนึกและพลังร่วมกันจากทุกสถาบันในสังคม ที่พัฒนาครอบครัวป้องกันและแก้ไขปัญหา ครอบครัว
4) สื่อมวลชนเป็นสถาบันสังคมที่มีอิทธิพลอย่างยิ่ง ที่จะมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจแก่การพัฒนาครอบครัวเพียงพอ  บางส่วนของสื่อมวลชนได้ตอกย้ำให้เกิดผลทางลบแก่ ผู้รับสารอย่างกว้างขวางต่อเนื่อง เช่น ปลูกฝังค่านิยมฟุ้งเฟ้อ มอมเมา การใช้ความรุนแรง พฤติกรรมที่สำส่อนทางเพศ การผลิตสื่อลามกต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาครอบครัวให้มีคุณภาพและมีความมั่นคง
การพัฒนาครอบครัว  มีหลัก ดังนี้
1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
ก. ส่งเสริมให้เห็นความสำคัญและร่วมมือกันให้ครอบครัวมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม
ข. เสริมสร้างความอบอุ่นและความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
2) ปรับปรุงประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม สนับสนุนบทบาทสถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สื่อมวลชน สถาบันครอบครัวและองค์กรชุมชน โดยเฉพาะคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการชุมชน กลุ่มอาสาสมัครต่างๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันแก้ไขปัญหาสังคมเพิ่มขึ้น
3) การพัฒนาจิตใจและวัฒนธรรม ให้ผู้ใหญ่เป็นแบบอย่างที่ดีทางด้านจริยธรรมและวัฒนธรรม โดยการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชน ตระหนักถึงควาสำคัญของการเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำเนินชีวิต ตลอดจนส่งเสริมความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและค่านิยมของสังคมในการเคารพยกย่องคนดีมีคุณธรรม
กิจกรรมในวันครอบครัวในวันครอบครัวไม่มีกิจกรรมใดที่ต้องปฏิบัติเป็นพิเศษอย่างวันอื่นๆ เช่น วันมาฆบูชาที่จะต้องมีการทำบุญตักบาตร ตอนเย็นก็มีการเวียนเทียน มีศาสนพิธีต่างๆเป็นต้น   แต่ในวันครอบครัวนี้จะมีการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้แต่ละครอบครัวมีความรักความเข้าใจกันมากยิ่งขึ้นเมื่อวันครอบครัวเวียนมาถึงอีกครั้งหนึ่งทุกคนในครอบครัวก็ควรจะให้ความสำคัญบุคคลในครอบครัวของเราเอง ญาติพี่น้องของเรา  มีการพูดคุยปรึกษาหารือกันในเรื่องต่างๆ ซึ่งจะสามารถสร้างความรักความเข้าใจให้กับทุกคนในครอบครัวได้เป็นอย่างดี  มีความห่วงใยให้แก่กันและกัน  กิจกรรมที่นิยมปฏิบัติกันในวันครอบครัวก็คือ การให้เวลากับครอบครัวมากยิ่งขึ้น การทำอาหารไปทานกันตามสถานที่ต่างๆ การไปทานอาหารนอกบ้าน การไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งการไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆนอกจากจะเป็นการพักผ่อนหย่อนใจแล้วยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้ในวันครอบครัวเรายังควรนึกถึงพระคุณของบิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย ของเราอีกด้วยเพราะบิดา มารดา เป็นผู้ให้กำเนิดเรามา ถ้าไม่มีท่านทั้ง 2 เราก็คงไม่ได้เกิดมาบนโลกใบนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น