วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี



พลังงานไฟฟ้า





       
  วงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยัง  แหล่งกำเนิดเดิม มี 3 แบบ คือ แบบอนุกรม แบบขนาน แบบผสม

วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่
2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า
3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด สวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย
ภาวะโลกร้อน


        ภาวะโลกร้อน  (Global  Warming)  หรือภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate  Chaing) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราปัจจุบัน  สังเกตได้จากอุณหภูมิ  ของโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ  สาเหตุหลักของปัญหานี้  มาจากก๊าซเรือนกระจก  (Greenhouse  gases)
       ปรากฏการณ์เรือนกระจก  มีความสำคัญกับโลก  เพราะก๊าซจำพวกคาร์บอนไดออกไซด์  หรือ  มีเทน  จะกักเก็บความร้อนบางส่วนไว้ในโลก  ไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด   มิฉะนั้น  โลกจะกลายเป็นเหมือนดวงจันทร์   ที่ตอนกลางคืนหนาวจัด  (และ ตอนกลางวันร้อนจัด  เพราะไม่มีบรรยากาศกรองพลังงาน จาก ดวงอาทิตย์)  ซึ่งการทำให้โลกอุ่นเช่นนี้   คล้ายกับหลักการเรือนกระจก  (ที่ใช้ปลูกพืช)  จึงเรียกว่า  ปรากฏการณ์เรือนกระจก  (Greenhouse  gases)
       แต่การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของ CO2  ที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม  รถยนต์  หรือการกระทำใดๆที่เผา  เชื้อเพลิงฟอสซิล(เช่น  ถ่านหิน  น้ำมัน  ก๊าซธรรมชาติ  หรือสารประกอบไฮโดรคาบอนด์)  ส่งผลให้ระดับปริมาณ CO2  ในปัจจุบันสูงขึ้น  300 ppm (300 ส่วน ในล้านส่วน) เป็นครั้งแรกในรอบกว่า 6 แสนปี
       ซึ่ง คาร์บอนไดออกไซด์ที่มากขึ้นนี้ ได้เพิ่มการกักเก็บความร้อนไว้ในโลกของเรามากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดเป็น "ภาวะโลกร้อน" ดังเช่นปัจจุบัน
       ภาวะโลกร้อนภายในช่วง 10ปี นับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2533  มานี้ ได้มีการบันทึกถึงปีที่มีอากาศร้อนที่สุด ถึง 3 ปี คือ ปี พ.ศ.2533, พ.ศ.2538 และ ปี พ.ศ.2540 แม้ว่าพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ยังมีความไม่แน่นอนหลายประการ  แต่การถกเถียงวิพากษ์วิจารณ์ ได้เปลี่ยนหัวข้อจากคำถามที่ว่า "โลกกำลังร้อนขึ้นจริงหรือ" เป็น "ผลกระทบจากการที่โลกร้อนขึ้น  จะส่งผลร้ายแรงต่อสิ่งที่มีชีวิตในโลกอย่างไร"  ดังนั้นยิ่งเราประวิงเวลาลงมือกระทำการแก้ไขออกไปเพียงใด  ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ยิ่งร้ายแรงมากขึ้นเท่านั้น  และบุคคลที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด  คือ  ลูกหลานหรือพวกเราเอง


ระบบนิเวศ


       สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติในแต่ละท้องถิ่น  มีความแตกต่างหลากหลาย เช่น  บางบริเวณมีแม่น้ำ  ลำธาร  คลอง  ชายทะเล  ป่าชายเลน  และที่ราบ  เป็นต้น  มักพบสิ่งมีชีวิตมากมายหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกัน ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน  เรียกว่า  กลุ่มสิ่งมีชีวิต  (Community) 

    ระบบนิเวศ  (Ecosystem)  หมายถึง  กลุ่มสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นพืช  สัตว์  หรือจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน  มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างเป็นระบบรวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต  ระบบนิเวศมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะของสิ่งมีชีวิต  และแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต  ซึ่งจัดเป็นระบบนิเวศขนาดใหญ่  เรียกว่า  โลกของสิ่งมีชีวิต

    ความสัมพันธ์ทั้งสองลักษณะจะเกิดขึ้นพร้อมกัน ในทุกๆระบบนิเวศ นั่นคือ ความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้สิ่งมีชีวิตทุกชนิดดำรงชีวิตอยู่รอดได้

    สิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิตในโลก เริ่มต้นมาจากสารที่เล็กที่สุด คือ อะตอม(atom)หลาย ๆ อะตอมทำปฏิกิริยาเคมีกัน หรือมีแรง ยึด ระหว่างอะตอม กลายเป็นโมเลกุล(molecule) โมเลกุลของสาร ต่างๆ รวมกันเป็นสารชีวโมเลกุลเซลล์ หรือออร์แกเนลล์(organelle) ออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ร่วมกันทำงาน  และประกอบกันเป็นเซลล์(cell)ในสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาจ มีเพียงเซลล์เดียว ส่วนสิ่งมีชีวิตที่มี มากกว่าเซลล์เดียวนั้น เซลล์ชนิดเดียวกันหลาย ๆ เซลล์ ทำหน้าที่ ร่วมกันเรียกว่า เนื้อเยื่อ(tissue) เช่น  เนื้อเยื่อกระดูก เนื้อเยื่อหลายชนิดร่วมกันทำหน้าที่ กลายเป็นอวัยวะ(organ) เช่น กระดูก
อวัยวะชนิดเดียวกัน หลายๆ อัน ร่วมกันทำหน้าที่ี่ เรี่ยกว่า ระบบอวัยวะ เช่น ระบบโครงกระดูก หลายๆ
ระบบร่วมกันทำงาน กลายเป็น สิ่งมีชีวิต(organism) เช่น แมว สุนัข วัว ควาย ไก่ เก้ง ปู สิ่งมีชีวิต
ชนิดเดียวกันอยู่ร่วมกันกลายเป็น ครอบครัว (family) หลายๆครอบครัวอยู่รวมกันในบริเวณหนึ่ง กลายเป็นประชากร(population) การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตชนิดเีดียวกัน จะต้องมีความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น เช่น ต้องมีอาหาร  มีที่อยู่อาศัย เป็นต้น จึงต้องเกิดกลุ่มสิ่งมีชีวิต(community) ขึ้นเมื่อรวมกลุ่มสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิตในบริเวณนั้น เข้าด้วยกันหลายเป็น ระบบนิเวศ (ecosystem)  

ประเภทของระบบนิเวศ    ระบบนิเวศมีอยู่ทุกหนทุกแห่งทั่วโลก มีมากมายหลายระบบ แต่ละระบบมีขนาดเล็กใหญ่
สลับซับซ้อนแตกต่างกัน โลกของเราจัดเป็นระบบนิเวศที่ใหญ่ที่สุด เรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต
(biosphere) ซึ่งเป็นที่รวมระบบนิเวศหลากหลายระบบ
    ส่วนที่จัดเป็นระบบนิเวศเล็ก ๆ เช่น ทุ่งหญ้า หนองน้ำ สระน้ำ ริมรั้ว ใต้ขอนไม้ผุ
ระบบนิเวศแบ่งได้เป็น 2 ระบบใหญ่ ๆ คือ
        1. ระบบนิเวศตามธรรมชาติ  ได้แก่ ระบบนิเวศบนบก เช่น ป่าไม้ ทุ่งหญ้า ทะเลทราย
            ระบบนิเวศแหล่งน้ำ แบ่งเป็นระบบนิเวศน้ำจืด เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง
            ระบบนิเวศน้ำเค็ม เช่น ทะเล มหาสมุทร 
            ระบบนิเวศน้ำกร่อย เช่น บริเวณปากแม่น้ำ
        2. ระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น  เช่น ระบบนิเวศชุมชนเมือง แหล่งเกษตรกรรม  นิคมอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งตู้ปลา อ่างเลี้ยงปลา ก็จัดเป็นระบบนิเวศที่มนุษย์สร้างขึ้น

โครงสร้างระบบนิเวศ     กลุ่มสิ่งมีชีวิต (community) ที่อาศัยอยู่ภายในระบบนิเวศ อาจมีหนึ่งชนิด  หรือมากกว่าหนึ่งชนิดก็ได้
    แหล่งที่อยู่ ( habitat ) บริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต จำแนกได้เป็น
        แหล่งที่อยู่ในน้ำ ได้แก่ แหล่งน้ำจืด ทะเล มหาสมุทร
        แหล่งที่อยู่บนบก ได้แก่ ที่ราบลุ่ม ที่ราบสูง ทุ่งหญ้า ป่า ทะเลทราย ดินแดนหิมะ

สิ่งแวดล้อม     องค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต ซึ่งมีความสัมพันธ์และเกี่ยวข้องกับระบบนิเวศ เช่น พลังงานจากดวงอาทิตย์ ลม อนินทรียสาร เช่น คาร์บอน ออกซิเจน น้ำ

อินทรียสาร    เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน รวมทั้งอุณหภูมิ อากาศ แสงสว่าง ความชื้น ดิน แร่ธาตุ

โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตภายในระบบนิเวศ    สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศมีบทบาทและความสำคัญแตกต่างกัน ได้แก่
        ผู้ผลิต (producer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่สามารถสร้างอาหารได้เองจากการสังเคราะห์ด้วยแสง
ได้แก่ พืชสีเขียวชนิดต่าง ๆ
        ผู้บริโภค (consumer)  เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้   ดำรงชีวิตโดยการกินสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นอาหาร ได้แก่
            - ผู้บริโภคพืช  เช่น กวาง  กระต่าย  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย
            - ผู้บริโภคสัตว์ เช่น เสือ  สิงโต  แมว  สุนัข 
            - ผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ เช่นคน นกเป็ดน้ำ  ปลานิล
            - ผู้บริโภคซากสิ่งมีชีวิตที่ตายแล้ว เช่น นกแล้ง ไส้เดือนดิน ไฮยีนา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น