วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ภาษาไทยสำหรับชั้นประถมศึกษา


สระ    สอ- รอ- อะ

VDO สอนสระ

            สระ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกจากลำคอโดยตรง โดยมีริมฝีปากหรือลิ้นกระทบอวัยวะในปากเป็นเครื่องช่วยให้เกิดเสียงด้ว

รูปสระในภาษามี 21 รูปสียงสระ หรือ เสียงแท้ มีลักษณะและหน้าที่ ดังนี้
             ๑. เป็นเสียงที่ลมผ่านออกมาได้โดยสะดวกไม่ถูกอวัยวะในปากกักทางลม
            ๒. อวัยวะที่ช่วยให้เสียงสระต่างกัน ได้แก่ ลิ้น และริมฝีปาก
             ๓. เสียงสระออกเสียงได้ยาวนาน
            ๔. เสียงสระมีทั้งเสียงสั้น และเสียงยาว
            ๕. เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ เพราะเสียงพยัญชนะต้องอาศัยเสียงสระเกาะเสมอ จึงออกเสียงได้

             ๑. เป็นเสียงที่ลมผ่านออกมาได้โดยสะดวกไม่ถูกอวัยวะในปากกักทางลม
            ๒. อวัยวะที่ช่วยให้เสียงสระต่างกัน ได้แก่ ลิ้น และริมฝีปาก
             ๓. เสียงสระออกเสียงได้ยาวนาน
            ๔. เสียงสระมีทั้งเสียงสั้น และเสียงยาว
            ๕. เสียงสระเป็นเสียงที่ช่วยให้พยัญชนะออกเสียงได้ เพราะเสียงพยัญชนะต้องอาศัยเสียงสระเกาะเสมอ จึงออกเสียงได้
            ๑. สระแท้ หรือ สระเดี่ยว
            ๒. สระประสม
            ๓. สระเกิน

            ๓. สระเกิน
           เมื่อพยัญชนะประสมกับสระและมีตัวสะกด จะมีวิธีใช้สระหลายวิธี ดังนี้
                         ส + - ั ว + น = สวน     (ลดไม้หันอากาศ คงเหลือไว้แต่ตัว ว เช่น กวน ลวน นวล ชวน ควร มวน อวน หวน)
        ๔. เติมรูป คือ เพิ่มรูปนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว ได้แก่  -ื   ที่ใช้ ในแม่ ก กา จะเติม -อ เช่น
            ค +  -ื     = คือ (บางท่านเรียก อ ว่า อ เคียง)
        ๕. ลดรูปและแปลงรูป

การใช้สระ
            1.    สระอะ (-ะ)     เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอะ เช่น กะ จะ ปะ

            19.    สระโอะ (โ-ะ)     เขียนไว้หน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออก
เสียง

พยัญชนะนั้นประสมด้วยสระโอะ เช่น โปะ โละ แต่ถ้ามีตัวสะกด 

จะตัดสระโอะออกเหลือ แต่พยัญชนะต้นกับตัวสะกด เรียกว่า สระโอะลดรูป เช่น คน รก จง

             24.    สระเออ (เ-อ)     เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออก

สียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออ เช่น เจอ เธอ เรอ ถ้ามี ย

สะกด จะตัด อ ออกแล้วตามด้วย ย เลย  เช่น เขย เกย เฉย เรียกว่า สระเออลดรูป ถ้ามีตัวสะกดอื่น ๆ ที่ไม่

ใช้ ย จะเปลี่ยน อ เป็นสระอิ เช่น เกิด เลิก เงิน เรียกว่า สระเออ

เปลี่ยนรูป

             26    .สระใอ (ใ-)     เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะ

นั้นประสมด้วยสระใอ มีทั้งหมด 20 คำ ได้แก่ ใกล้ ใคร ใคร่ ใจ ใช่

ใช้ ใด ใต้ ใน ใบ้ ใฝ่ ใย สะใภ้ ใส ใส่ ให้ ใหม่ ใหล ใหญ่ หลงใหล ใหญ่

              27.    สระไอ (ไ-)     เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียง

พยัญชนะนั้นประสมด้วยสระไอ เช่น ไป ไซ ไส ใช้กับคำที่มาจากภาษา

อังกฤษ เช่น ไกด์ ไมล์ สไลด์ ใช้กับคำ ที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤตที่แผลงสระอิเป็นสระไอ เช่น ตรี - ไตร 

ใช้กับคำที่มาจากภาษาเขมร เช่น สไบ




สระช่วยจำ


                                           จึงเอามาเรียบเรียง          ให้พร้อมเพรียงเรียงหน้ากัน
                                           เริ่มต้นวิสรรชนีย์             ไม้หันมีไต่คู้หัน
                                           ลากข้างเรารู้กัน              พินทุอินั้นมีมา
                                           ฝนทอง หยาดน้ำค้าง      ไม่เมินหมางฟันหนูหนา
                                           ตีนเหยียดก็มีมา              ตีนคู้หนสไม้หน้ามี
                                           ไม้ม้วน ไม้มลาย             ไม่วุ่นวายไม้โอดี
                                           ตัวออ ตัวยอมี                 ยังมีดีที่ตัววอ
                                            รึ รือ หรือจะขาด             ไม่มีพลาด ลึ ลือ หนอ
                                            รูปมีเพียงนี้หนอ              จบแล้วหนอลาก่อนเอย

 1.      ะ          เรียกว่า             วิสรรชนีย์                                                                            
 2.        ั          เรียกว่า            ไม้หันอากาศ หรือ ไม้ผัด
 3.         ็         เรียกว่า             ไม้ไต่คู้
 4.       า          เรียกว่า             ลากข้าง
 5.         ิ          เรียกว่า            พินทุ หรือ พิทุอิ
 6.         ่         เรียกว่า            ฝนทอง
 7.        ่ ่          เรียกว่า            ฟันหนู
 8.         ํ           เรียกว่า            นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง
 9.         ุ           เรียกว่า             ตีนเหยียด
 10.        ู          เรียกว่า             ตีนคู้
 11.      เ           เรียกว่า             ไม้หน้า
 12.      ใ           เรียกว่า             ไม้ม้วน
 13.      ไ          เรียกว่า             ไม้มลาย
 14.      โ           เรียกว่า             ไม้โอ
 15.      อ          เรียกว่า             ตัวออ
 16.      ย          เรียกว่า            ตัวยอ
 17.      ว          เรียกว่า            ตัววอ
 18.      ฤ          เรียกว่า             ตัว ฤ (รึ)
 19.      ฤๅ        เรียกว่า             ตัว ฤๅ (รือ)
 20.      ฦ          เรียกว่า             ตัว ฦ (ลึ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว            21.      ฦๅ        เรียกว่า            ตัว ฦๅ (ลือ) ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

                เสียงสระมี ๓ ชนิด



        ๑. คงรูป คือเขียนรูปสระให้ปรากฏครบถ้วน ได้แก่ -า , -, -, -, -, -ู เ- แ- โ- , -อ เ -ีย เ -อ
                        ก + -า + ง = กาง
                        ด + - ิ + น = ดิน
                        ห + -อ + ม = หอม
                        ม + แ- + ว = แมว
            ๒. แปลงรูป คือ แปลงสระเดิมให้เป็นอีกรูปหนึ่ง ได้แก่ -ะ เ-ะ แ-ะ เ-อ
                        ร + -ะ + บ = รับ     (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้หันอากาศ)
                        ล + เ-ะ + ก = เล็ก    (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม่ไต่คู้)
                        ข + แ-ะ + ง = แข็ง     (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้)
                        ด + เ-อ + น = เดิน     (แปลงตัวออเป็นพินทุ์อิ)
        ๓. ลดรูป คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏ หรือปรากฏบางส่วนแต่ยังคงต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลดนั้น การลดรูปมี ๒ วิธีคือ
            ๓.๑ ลดรูปทั้งหมด ได้แก่ โ-ะ, -อ     เช่น
                       บ + โ-ะ + ก = บก
                       ก + -อ + ร = กร     (เมื่อมีตัว ร สะกดเท่านั้น)
            ๓.๒ ลดรูปบางส่วน ได้แก่ สระที่ลดรูปไม่หมดเหลือไว้บางส่วน เช่น
                        ค + เ-อ + ย = เคย     (เมื่อตัว ย สะกด จะลดรูปตัว อ เหลือไว้แต่ไม้หน้า เช่น เชย เชย เลย เกย เอย เนย เงย )
            ม +  -ื    = มือ
            ก + เ-าะ +   -้ = ก็
            ล + เ-าะ + ก = ล็อก


        สระที่มีตำแหน่งอยู่บนหรือล่างของพยัญชนะ ต้องเขียนตรงกับเส้นหลังของพยัญชนะต้นเสมอ
             2.    สระอา (-า)     เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอา เช่น มา กา ตา
            3.    สระอิ (-ิ)     เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอิ เช่น บิ สิ มิ
            4.    สระอี (-ี)     เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอี เช่น ปี ดี มี
            5.    สระอึ (-ึ)     เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอึ เช่น หึ สึ
            6.    สระอื (-ื)     เขียนไว้บนพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอื แต่การใช้สระอื ต้องมี อ มาประกอบด้วย เช่น มือ ถือ ลือ
            7.    สระอุ (-ุ)     เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอุ เช่น ผุ มุ ยุ
             8.    สระอู (-ู)     เขียนไว้ใต้พยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอู เช่น ดู รู งู
            9.    สระเอะ (เ-ะ)     เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอะ เช่น เละ เตะ เกะ
            10.    สระเอ (เ-)     เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอ เช่น เก เซ เข
            11.    สระแอะ (แ-ะ)     เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอะ เช่น และ แพะ แกะ
            12.    สระแอ (แ-)     เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระแอ เช่น แล แพ แก
            13.    สระเอียะ (เ-ียะ)     เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอียะ เช่น เผียะ เพียะ เกียะ
            14.    สระเอีย (เ-ีย)     เขียนไว้ทั้งหน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอีย เช่น เสีย เลีย เปีย
            15.    สระเอือะ (เ-ือะ)     เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ
            16.    สระเอือ (เ-ือ)     เขียนไว้ทั้งหน้า บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอือ เช่น เสือ เรือ เจือ
             17.    สระอัวะ (-ัวะ)     เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัวะ เช่น ผัวะ ยัวะ
            18.    สระอัว (-ัว)     เขียนไว้บน และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอัว เช่น ตัว รัว หัว
            20.    สระโอ (โ-)     เขียนไว้หน้าพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะ
นั้นประสมด้วยสระโอ เช่น โต โพ โท
            21.    สระเอาะ (เ-าะ)     เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอาะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
            22.    สระออ (-อ)     เขียนไว้หลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระออ เช่น ขอ รอ พอ
            23.    สระเออะ (เ-อะ)     เขียนไว้ทั้งหน้า และหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเออะ เช่น เลอะ เถอะ เจอะ
            25.    สระอำ (-ำ)     เขียนไว้บนและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระอำ เช่น รำ ทำ จำ
              28.    สระเอา (เ-า)     เขียนไว้หน้าและหลังพยัญชนะ เมื่อนำมาประสมกับพยัญชนะ จะออกเสียงพยัญชนะนั้นประสมด้วยสระเอา เช่น เกา เผา เรา




คำควบกล้ำ


          คำควบกล้ำ คือ คำที่มีพยัยชนะต้นสองตัวเรียงกัน ประสมสระเดียวกัน และอ่านออกเสียงพยัญชนะต้นทั้งสองตัวพร้อมกัน พยัยชนะตัวควบ มี 3 ตัว คือ ร ล และว คำควบกล้ำ เเบ่งออกเป็ฯ 2 ชนิดได้แก่ คำควบเเท้ และคำควบไม่เเท้
1. คำควบแท้ คือ คำที่มีพยัญชนะตัวหลังเป็น ร ล ว ประสมสระเดียวกัน เวลาอ่านจะออกเสียงพยัญชนะทั้ง 2 ตัว พร้อมกัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
     1.1 พยัญชนะตัวหน้า คือ ตัว ก ข ค ต ป พ ควบกับ ตัว ร เช่น
กรอบ ขรุขระ ครู เตรียม ปรับปรุง แพรวพราว
     1.2 พยัญชนะตัวหน้า คือ ตัว ก ข ค ป ผ พ ควบกับ ตัว ล เช่น
กลอง ขลุ่ย คลาน ปลอมแปลง แผล พลาด
     1.3 พยัญชนะตัวหน้า คือ ตัว ก ข ค ควบกับตัว ว เช่น
กวาง ขวาน ควาย
2. คำควบไม่แท้ คือ คำที่พยัยชนะต้นควบกับตัว ร แต่อ่านออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว หรือออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นเสียงพยัญชนะตัวอื่น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
      2.1 พยัญชนะตัวหน้าเป๋นตัว จ ซ ศ ส ควบกับตัว ร จะออกเสียงพยัญชนะตัวหน้าเท่านั้น ไม่ออกเสียง ร ควบ เช่น
จร จริง อ่านว่า จิง
ศร เศร้า อ่านว่า เส้า
ซร ไซร้ อ่านว่า ไซ้
สร สร้อย อ่านว่า ส้อย
      2.2 พยัญชนะตัวหน้าป็นตัว ท ควบกับตัว ร จะออกเสียงเป็น ซ เช่น
ทร ทราบ อ่านว่า ซาบ
ทร ไทร อ่านว่า ไซ
ทร อินทรีย์ อ่านว่า อิน-ซี
พุทรา อ่านว่า พุด-ซา


ความหมายแฝงของอักษร

ไทย 44 ตัว



ก.ไก่ เป็นสัตว์ตื่นเช้าที่สุด เลยให้มาเป็นอักษรตัวแรก เพื่อเตือนให้คนไทยขยันขันแข็ง

ข.ไข่ เป็นดอกผลของไก่ แต่จะมีความเปราะบาง ต้องทะนุถนอมให้ดีดี อย่าปล่อยทิ้งละเลยสังคม

ฃ.ฃวด เป็นวิถีชีวิตของคนไทยที่เตือนไว้ว่า แม้จะดื่มกิน ให้มีสติไว้ มิฉะนั้นอาจมีสิ่งใดแตกหักได้

ค.ควาย ฅ.ฅน เป็นวิถีชีวิตของคนไทย การอยู่ร่วมกันระหว่าง ฅน และธรรมชาติ โดยให้ ฅนมาทีหลัง ควาย คือ โง่ มาก่อนฉลาด อย่าอวดฉลาด หากยังไม่รู้จักโง่ก่อน

ฆ.ระฆัง ให้หมั่นประชุมเป็นนิตย์ อย่าได้ละเลยการพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น

ง.งู ต้องกล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงความคิดเห็น

จ.จาน ต้องรู้จักการอาสาเจือจาน เข้าทำนอง จ.จานใช้ดี

ฉ.ฉิ่ง ตีดัง ช.ช้าง วิ่งหนี ให้รู้จักการใช้การทำงานเล็ก ๆ ให้เกิดผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง โดยไม่ต้องคิดการใหญ่

ซ.โซ่ ล่ามที หากสังคมเตลิด จากการกระทำใดใด ให้รู้จักยับยั้งเอาไว้ด้วยขนบธรรมเนียมบ้าง

ฌ.เฌอ คู่กัน ให้รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ระหว่างคนและธรรมชาติ

ญ.หญิง โสภา ฑ.มณโฑ หน้าขาว บอกใบ้ให้เห็นว่า สตรี เป็นเพศที่สวยงาม และต้องเอาใจใส่ให้มาก อย่าได้ละเลยลืมเลือน

ฎ.ชฎา สวมพลัน เป็นแง่คิดให้เห็นถึง ยศฐาบรรดาศักดิ์ว่า ไม่จีรัง คล้าย ๆ กับหัวโขน

ฏ.ปฏัก และ ฐ.ฐาน เป็นอักษรคู่กัน ที่จะทำงานอะไรที่ฉับไว เที่ยงตรง ต้องมีรากฐาน หรือมีเหตุผลรองรับอย่างชัดเจนมั่นคง

ฒ.ผู้เฒ่า เดินย่อง เป็นการสะท้อนว่า ผู้หลักผู้ใหญ่จะทำอะไรต้องระมัดระวังให้ถี่ถ้วน อย่าโผงผาง

ณ.เณร ไม่มอง ด.เด็ก ต้องนิมนต์ เป็นอักษรคู่กัน แทนการเปรียบเทียบ 2 สถาบัน ระหว่างศาสนา และฆราวาส เมื่อพระท่านมองข้ามสิ่งใด ละเลยสิ่งใด ต้องช่วยกันเตือนได้ ไม่ใช่ละเลยไปหมด

ต.เต่า หลังตุง ถ.ถุง แบกหาม เป็นอักษรคู่เช่นกัน ที่เปรียบว่า ทั้งหมด มีหน้าที่ของตัว และต้องทำให้ดีที่สุดตามสภาพที่มีและเป็นอยู่

ท.ทหาร อดทน นี่ชัดเจนว่าท่านข้าราชการ ว่าต้องมีน้ำอดน้ำทน ทำงานไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เพื่อชาติ

ธ.ธง คนนิยม เป็นภาพสะท้อนให้คนรักชาติบ้านเมือง ให้เห็นแก่ประโยชน์ของชาติอันดับแรกเลย

ภ.สำเภา กางใบ สะท้อนว่าหากจะค้าขายไกล ๆ ต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สอดรับกับสถานการณ์ต่าง ๆ

ร. ล. ว. เป็นอักษรชุด 3 ตัวเรียง ที่มาสะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ น้ำ สัตว์ และการฝีมือ

ที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ษ. ฤาษี หนวดยาว ศ.ศาลา ส.เสือ ดาวคะนอง สามสอนี้ เป็นภาคตัวแทนของอุปนิสัยใจคอของคนไทยว่า รักสงบ (ษ.)

โอบอ้อมอารี (ศ.) แต่ใจนักเลง (ส.)

อ.อ่าง เนืองนอง เป็นสัญลักษณ์ย้ำว่าคนไทย ต้องมีจิตคิดเพื่อคนอื่นเสมอ ก่อนคิดเพื่อตัว

ฬ.จุฬา ท่าผยอง สะท้อนว่า ริจะเป็นผู้ปกครอง ริจะอยู่เหนือคนอื่น ต้องต้านทานอุปสรรคนานาได้ คล้ายกับว่าว จะขึ้นสูงต้องต้านแรงลมได้

ฮ.นกฮูก นั้นสะท้อนว่า คนไทยขยันตั้งแต่เช้า (ไก่) ยันค่ำ (นกฮูก) มีสัตว์ที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา
SvAXzl.gif

                                          http://www.trueplookpanya.com/new/knowledge_list/12-1000/update/1024/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น